แม้จะใช้ชื่อเหมือนกันแต่คนละสี รู้หรือไม่ว่า ผักโขมแดง ไม่ได้อยู่ในตระกูลเดียวกับผักโขมเขียว และเป็นคนละชนิดกัน โดยผักโขมแดง จะมีสีแดงทั้งใบ ก้าน ปลูกง่าย เติบโตได้ดีทุกฤดูกาล โดยเมื่อปลูกแล้วเพียง 20-25 วันก็ทยอยเก็บเกี่ยวได้เรื่อยๆ
นอกจากนี้สารสีแดงของผักโขมแดง มีประโยชน์หลากหลาย โดยเฉพาะแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการตกตะกอนของเกล็ดเลือด บำรุงสายตา แต่ก็ไม่ควรรับประทานสดในจำนวนมากๆ เพราะผักโขมแดงมีสารออกซาเลต (Oxalate)อยู่เช่นเดียวกับผักโขมเขียว หากรับประทานผักโขมแดงสดจำนวนมากอาจจะไปขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม ดังนั้นการรับประทานผักโขมแดงจึงต้องทำให้สุกเสียก่อน เพื่อช่วยลดสารออกซาเลต โดยสามารถนำ ผักโขมแดงมาประกอบอาหารได้หลายเมนู เช่น ลวกจิ้มน้ำพริก ผักโขมแดงผัดน้ำมันหอย ซุปผักโขมแดง น้ำผักผลไม้ปั่น เป็นต้น